บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2013

บวชคืออะไร

รูปภาพ
  บวช  คืออะไร  หลายท่านคงจะทราบ  และคงเข้าใจ บวช  คือ   การถือเพศอย่างพระ   หรือ นักพรต พระ  คือ  ผู้ประเสริฐ   ผู้ที่เคารพนับถือ   ผู้ถือบวช พรต   คือ   การสมาทาน    การจำศีล    การปฏิบัติ มารยาท   เขตแห่งความประพฤติ   กฏ   กิจวัต   ชนบธรรมเนียม   ประเพณี นักพรต   คือ  ผู้สมาทาน    ผู้จำศีล  ผู้มีมารยาท  ผู้ปฏิบัติตามฃนบธรรมเนียม  ประเพณี ศีล   คือ   จรรยาดี   ความประพฤติดี ถือ   คือ   รักษา  ประพฤติ  เชื่อ  นับถือ  บูชา ถือศีล  คือ  ผู้รักษาความประพฤติดี     ผู้รักษาจรรยาดี    ผู้มีความประพฤติที่ดี ธรรม   คือ   คุณความดี   ความเป็นธรรม  ความยุติธรรม ศีลธรรม  คือ   ผู้รักษาคุณความดี    ผู้นับถือคุณความดี นักบวช  คือ   ผู้ถือศีล     ผู้รักษาความประพฤติที่ดี   ผู้รักษาจรรยาดี ผู้ถือบวช   คือ    ผู้จำศีล   ผู้สมาทาน   ผู้มีมารยาท   ผู้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี บุญ   คือ   ความดี   ความสุข   กุศล บำเพ็ญบุญ   คือ   ประพฤติความดี   ทำให้มีความสุขขึ้น   ทำให้เกิดกุศลขึ้น    ทำความดีให้เกิดขึ้น ทาน  คือ   การให้    ต้านไว้   กั้นไว้   ปะทะไว้ สมาทาน  

การวางตัวในการสมาคม

รูปภาพ
   การวางตัวเป็นความประพฤติที่สำคัญยิ่งของบุคคล ทุกคนในการสมาคมกับบุคคลอื่น    หลักในการวางตัวมีดังนี้  คือ 1.ท่วงที่   คือท่าทางที่แสดงออกมานั้น ต้องไม่เกินฐานะ และความรู้  ไม่อวดอ้างตน   ไม่อวดอ้างอำนาจ ไม่เย่อหยิ่งจองหอง  ไม่ทำตัวให้วิเศษกว่าผู้อื่น   ไม่เหยียดหยามผู้ที่ด้อยกว่า   ไม่ถือตัว  2.กิริยา   คือ  การแสดงอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย  เช่น   การยืน  เดิน  นั่ง  นอน ต้องไม่หยาบคาย  กระด้างกระเดื่อง   การพูดจา  ดวงตาที่มองผู้อื่น ต้องสุภาพ  งดงาม  ต้อง รู้จักที่ต่ำที่สูง  ไม่กระดิกเท้า  หรือเหยียดเท้าในเวลาสนทนากับผู้ใหญ่ 3.วาจา คือ  คำพูดเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต้องไพเราะ  สุภาพนุ่มนวล  มีหางเสียง  ไม่พูดให้ร้ายผู้อื่น ต้องเป็นบุคลลที่เชื่อถือได้   ไม่ล้อเลียนผู้อื่น  ไม่ควรถามเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น  การเรียกขานผู้อื่น ควรเป็นถ้อยคำสุภาพ    การชมเชยผู้อื่นไม่ควรชมเชยมากเกินไป  หรือเกินจริง   ไม่ควรวิจารณ์ผู้อื่น ไม่ควรใจน้อยกับคำพูดที่มากระทบ   ควรอดทนและหนักแน่น 4.การแต่งกาย  ต้องเรียบร้อยสุภาพ 5.การแนะนำบุคคลให้รูจักกันในการสมาคม  มีดังนี้   5.1  การ

มารยาท

รูปภาพ
   มารยาท  คือ  กิริยาวาจาที่ถือว่าเรียบร้อย การแสดงกิริยาที่ดีที่เรียบร้อยก็คือ  การมีสัมมาคารวะ ไม่ก้าวร้าว  หยาบคาย  ไม่หยาบกระด้าง  เป็นผู้รู้กาลเทศะ รู้จักระงับอารมณ์ในการสมาคม  และรู้จักวางตัว ต้องรู้จักที่ต่ำที่สูง  กิริยาเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า มีชาติตระกูลเป็นอย่างไร  ดังสุภาษิตที่ว่า "  สำเนียงบอกภาษา   กิริยาบอกตระกูล  "   กิริยาเป็นการแสดงอาการเคลื่อนไหวของร่างกายทุกอิริยาบถ  ต้องเป็นไปด้วยดี สุภาพงดงาม ไม่ควรดัดเสียงหรือจีบปากในการสนทนากับใครๆ  ตาต้องมองตรง  ตาเป็นเครื่องแสดงความบริสุทธิ์ แขนปล่อยตามปกติ   วาจาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  หากวาจาที่กล่าวออกมา  ปราศจากความไพเราะ  ขาดความสุภาพนุ่มนวล การกล่าววาจาเช่นนั้น   เป็นเครื่องส่อถึงความไม่สุภาพเรียบร้อย   ลักษณะการพูด  ควรพูดเรียบๆ  ดังพอประมาณ  แสดงความตั้งใจและสมัครใจในการพูด ควรพูดในลักษณะปานกลางไม่เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป  ไม่ควรพูดด้วยถ้อยคำที่เผ็ดร้อนรุนแรง หยาบคาย  ส่อเสียดหรือเสียดสี  หรือยกตนข่มท่าน    มารยาทของผู้ไปในงานเลี้ยง  คือ 1.  นั่งให้เรียบร้อย  มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่

ที่พึ่ง

รูปภาพ
  คุณคงจะได้ยินคำว่า  ตนแลคือที่พึ่งแห่งตน แต่สิ่งมีชีวิต  และ  ธรรมชาติ  ก็เป็นที่พึ่งของเราได้ ในวัยเยาว์เราพึ่งพา บิดามารดา  หรือ ผู้ปกครองที่ท่าน ได้ให้การเลี้ยงดู  อบรบ สั่งสอน ให้ความรัก  ความเมตตา ให้การศึกษา ให้เป็นคนดีเพื่อตนจะได้เป็นที่รักของ ผู้ที่มาคบค้าสมาคมด้วยกับตน   ธรรมชาติเป็นที่พึ่งให้ความร่มเย็น  ความสงบ  ความสวยงาม  ความสบายใจ  ได้ผ่อนคลาย เพื่อนที่ดี   เพื่อนบ้าน  ให้ความสบายใจ   ให้ความคลายทุกข์   คลายความวิตกกังวล  เป็นที่ปรึกษา ญาติพี่น้อง  ให้ความรัก  ความเมตตา  ความสนุก  ความสนิทสนม  ความสามัคคี   ตนเองก็ต้องให้ความรัก  ความเมตตา ความปรารถนาดีแก่ผู้อื่น  และธรรมชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตนต้องให้กับตัวของตนเอง ด้วยการเป็นคนดี  ขยันศึกษา  ขยันทำงาน  มีความเมตตากรุณา และไม่เดินทางไปในทางที่เสื่อม  ซึ่งทำให้ตนต้องตกเป็นทาสของอบายมุข อันเป็นเหตุให้ตน และผู้อื่นเดือดร้อน  และ เสื่อมเสียชื่อเสียง เกียรติยศได้  หรือ อาจสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักไปได้ จงอย่าทำตัวเป็นศัตรูของตนเอง  จงมีพลังแห่งคุณงามความดีที่ตนได้รับมาตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นเกร