บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2012

กามคืออะไร

รูปภาพ
คุณคงได้ยินคำว่า  " กาม "มานานแล้ว  แต่คุณทราบ ไหมว่า กามคืออะไร  หลายคนคงตอบว่าคือการ มีเพศสัมพันธ์ แต่อันที่จริง   กาม   คือ   ความรัก  ความใคร่   ความพอใจ ที่รัก   ที่ใคร่    ที่พอใจ    กามแบ่งออกเป็น 1.  กามคุณ  คือ  สิ่งปรารถนา 5 ประการ  ได้แก่     1.1  รูป  ได้แก่   ร่างกาย  ความงาม   1.2  รส  ได้แก่   ความรู้สึกชอบใจ   1.3  กลิ่น  ได้แก่  สิ่งที่รู้สึกด้วยจมูก   1.4  เสียง  ได้แก่  สิ่งที่ได้ยินด้วยหู   คำที่เปล่งออกมา   1.5  สัมผัส  ได้แก่  ความรู้ 3 อย่าง  คือ         1. ตาเห็นรูป  ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นได้         2.จมูกได้กลิ่น  ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นได้         3.หูได้ยินเสียง   ทำให้รู้สึกขึ้นได้ 2.  กามตัณหา   คือ  ความทะยานอยากในอารมณ์ที่รักใคร่ 3.  กามภพ    คือ  ที่เกิดของสิ่งมีชีวิต( ไม่ใช่พืช ) ที่ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม 4. กามราคะ  คือ  กำหนัดในกาม 5. กามาพจร  คือ  โลกแห่งกาม  มี 6  อย่าง  คือ         1.  จาตุรมหาราชิกายิก           2 . ดาวดึงส์  สวรรค์ชั้น  2         3. ดุษิต  สวรรค์ชั้น  4         4. ยาม    1ยามม

อนารยะ ( อธรรม )

รูปภาพ
อนารยะธรรม   หรือ  อธรรม   หรือ  ความป่าเถื่อน  คือ สิ่งที่ไม่ใช่ คุณความดี    ,   สิ่งที่ไม่ใช่ความเป็นธรรม   ,  สิ่งที่โหดร้าย เลวร้าย ชั่วร้าย ที่ทุกคนไม่ต้องการให้เกิดมีขึ้นในสังคมเพราะ ทุกๆคนปรารถนาความสงบสุข   ความร่มเย็น  ความสุขกายสบายใจ ความรัก  ความเป็นมิตร  ความมีน้ำใจ   ความห่วงใยซึ่งกันและกัน อนารยะธรรม  (  ความป่าเถื่อน  )  ก็คือ 1.  คนที่ไม่มีศีลธรรม  คือผู้ที่มีความประพฤติที่ไม่มีคุณความดี   ผู้มี - ความประพฤติที่ไม่เป็นธรรม    ผู้ที่มีความประพฤติที่ไม่ยุติธรรม    ไม่มีความละอาย ศีล  แปลว่า  จรรยาดี   ความประพฤติดี ธรรม  แปลว่า  คุณความดี   ความเป็นธรรม   ความยุติธรรม ถือ   แปลว่า  นับถือ  เชื่อ  บูชา  รักษา  ประพฤติ ถือศีล   แปลว่า   ผู้มีความประพฤติที่มีจรรยาดี     ผู้ที่รักษาจรรยาดี   จรรยา  แปลว่า  ความประพฤติ    กิริยาที่ควรประพฤติ   จริยา 2.  ความเบียดเบียน   การทำร้าย   3.  ความพยาบาท   ความปองร้าย   ผูกใจเจ็บ  อยากแก้แค้น     4.  ความจองหอง   ความเยอหยิ่ง   โต้เถียง  ทะเลาะวิวาท  หุนหันพลันแล่น  ดุร้าย   5.  ความไม่รู้คุณคน   ไม

อารยธรรม

รูปภาพ
อารยธรรม  คือ  ธรรมอันดีงาม  ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมที่ดี        อารยชน   คือ  ผู้เจริญ อารยะ   (  อาริยะ   )   คือ  ผู้มีธรรม (  คุณความดี  )  หรือ ผู้มีความงาม   ความเจริญ   ความซื่อตรง ผู้ที่เป็นอารยชน คือ ผู้ที่ประพฤติธรรม (คุณความดี  )  ดังนี้ 1.  มีความประพฤติที่ดี 2.  มีความรู้  ที่ได้มาจากการศึกษา  และ  ที่ได้มาจากการเรียนรู้ชีวิต     และ จากประสบการณ์ 3.  รู้ชัดเจน  คือ  เชี่ยวชาญ   ชำนาญ  รู้เท่าทันคน  ไม่หลงงมงาย  หรือ หลงมัวเมาในสิ่งที่ไม่ดี 4.  รู้จักรักษา  เกียรติ  และ  ชื่อเสียงแห่งตนและวงศ์ตระกูลไว้  โดยไม่ทำตนให้เสื่อม 5.  เป็นผู้ให้  หรือ เสียสละ  ให้แก่ผู้ที่ด้อยกว่า  หรือ  ผู้ที่ตกทุกข์    ระวังในการให้และเสียสละด้วย ควรใช้วิจารณญาณ 6.  รู้กาลเทศะ  รู้จักที่สูงที่ต่ำ    รู้จักแสดงความเคารพ    แสดงความนับถือ  บุพพการี  และ บุคคลที่ควรให้ความเคารพและ  ให้ความนับถือ 7.  รู้จักอุปการะ  และตอบแทนคุณท่าน  ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล  มีเมตตา   กรุณา  ต่อผู้อื่น 8.  อดทน  อดกลั้น  ในสิ่งที่มากระทบ  ความรู้สึกของตน 9.  รู้จักกล่าวคำขอโทษ   ห

พุทธญาณปัญญาแห่งผู้ตื่นแล้ว

รูปภาพ
    พุทธญาณปัญญาแห่งผู้ตื่นแล้ว  คือ ผู้ที่มีความรู้เท่าทันอัน เกิดจากความฉลาดซึ่งได้มาจากการเรียนและคิด รวมทั้ง จากประสบการณ์ชีวิต เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่บนความ ไม่ประมาท   ไม่หลงงมงาย  หรือ  ไม่มัวเมา ฉลาด  คือ  เฉียบแหลม มีไหวพริบดี   มีปัญญาดี เฉลียว  คือ  รู้เร็ว  เข้าใจอะไรได้เร็ว   มีปัญญาไว ปฏิภาณ  คือ   ความมีไหวพริบ   มีปัญญาแตกฉาน  กล่าวด้วยเหตุผล ได้ในทันที รู้ทั่ว   คือ  รอบรู้   รู้ชัด   รู้กระจ่าง ผู้ที่ตื่นแล้ว ก็คือ  ผู้ที่ลืมตา  หรือ  ผู้ที่มองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว  สามารถมองเห็นทั้งสิ่งที่ดี และไม่ดี ซึ่งมีอยู่ในสังคม ธรรม   หรือ  ธรรมะ   คือ   คุณความดี   ความเป็นธรรม   ความยุติธรรม บุญ  คือ  ความดี  ความสุข  กุศล กุศล  คือ  สิ่งที่ดี   สื่งที่ชอบ   บุญ   งาม สุข  คือ  ความสะดวก   ความสบาย   ความสำราญ   เจริญดี สมาธิ   คือ  การตั้งจิตมั่น   การสำรวม  การเพ่งเล็งอย่างแน่วแน่ ปัญญา  คือ  ความรู้เท่าทันคน  มีไหวพริบปฏิภาณดี  และ  เฉลียวฉลาด ศีล  คือ  จรรยาดี   ความประพฤติดี ศีลธรรม   คือ   ความประพฤติที่ดีที่ชอบ ถือศีล  คือ   ร

พุทธญาณ

รูปภาพ
     มารู้จักพุทธญาณกันก่อน  เพื่อจะเข้าใจ คำว่า " พุทธญาณ " ในพระพุทธศาสนา  ที่มุ่งให้ใช้  " สติ "  และ  " ปัญญา " ในการดำรงชีวิต และในการดำเนินชีวิต พุทธ  (  Putta   ,  Buddha)  แปลว่า  ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้ระวังอยู่   ผู้บานแล้ว  ผู้ตรัสรู้ รู้   (Roo ) แปลว่า  ทราบ  เข้าใจ ตื่น ( Tuen )  แปลว่า  ไม่หลับ  ไม่ประมาท   ไม่หลงงมงาย     รู้เท่าทัน  แปลกใจ  ฟื้นจากหลับ ระวัง  (  Ravong )  แปลว่า  เตรียมพร้อม  เอาใจใส่  กันไว้ บาน ( Ban )  แปลว่า  แช่มชื่น     แผ่ออก  คลี่ออก  ญาณ  (  Yan )  แปลว่า  ความสามารถหยั่งรู้พิเศษ      ปรีชากำหนดรู้       ความรู้    ปัญญา    ปรีชาหยั่งรู้ ปัญญา  (  Panya )  แปลว่า  ความรอบรู้   ความรู้ทั่ว   ความฉลาดอันเกิดแต่เรียนและคิด  ปรีชา  (  Preecha )  แปลว่า  ความรอบรู้   ความหยั่งรู้ หยั่งรู้  (  Yangroo )  แปลว่า  เข้าใจคาดคะเน พุทธญาณ  คือ  ผู้ที่มีความสามารถหยั่งรู้พิเศษในการรู้เท่าทัน   ผู้ที่มีความสามารถพิเศษในการ เตรียมพร้อม สติ  (  Sati )  แปลว่า  ความรู้สึกตัว   ความรู้สึกผิดชอบ สติสัมป