บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

การเรียกบุคคลในการสมาคม

รูปภาพ
คุณคงทราบว่าในการสมาคมกับผู้อื่น    คุณมักได้ยิน  หรือ  ใช้ คำว่า  คุณ   ท่าน   เธอ  เค้า  เขา  แต่ในการคบค้าสมาคม ของคน  คุณคงเคยได้ยิน  หรือใช้เรียกบุคคลอื่นว่า  ป้า  ลุง  ยาย หรือ ตา บ้าง ทั้งที่ท่านเหล่านั้นมิใช่วงศาคณาญาติ   เพราะสังคมไทยให้ความเคารพและให้ความนับถือบุคคลที่อาวุโส กว่าตน  เช่น คนไทย มักเรียก บุคคลที่แก่กว่า  บิดามารดาของตนว่า  คุณลุง คุณป้า   เรียกบุคคลที่อ่อนกว่าบิดามารดาของตนว่า คุณ อา     คุณน้า เรียกบุคคลที่แก่กว่าตนว่า  พี่   คุณพี่ เรียกบุคคลที่อ่อนกว่าตนว่า  น้อง   เรียกบุคคลที่รุ่นคุณตา  คุณยาย  คุณปู่ คุณย่า  ว่า   คุณตา    คุณยาย เรียกบุคคลที่รุ่นคุณลุง  คุณป้า  ว่า  คุณลุง    คุณป้า เรียกบุคคลที่รุ่นคุณอา  คุณน้า  ว่า  คุณอา    คุณน้า เรียกบุคคลรุ่นลูกว่า  ลูก  หรือ เรียกบุคคลรุ่นลูก  รุ่นหลาน  หรือ เด็กเล็กว่า    ลูก    นอกจากคนไทยจะให้ความเคารพ และให้ความนับถือ ผู้ที่อาวุโสกว่าแล้ว  คนไทยยังกล่าว ถ้อยคำที่สุภาพกับผู้ใหญ่กว่า  และผู้ใหญ่ก็มักพูดสุภาพและให้ความเมตตากับผู้ที่อ่อนกว่า เมื่อเด็กทำอะไรให้ผู้ใหญ่ หรือให้ค

บทแผ่เมตตาและบทแผ่ส่วนกุศล

รูปภาพ
บทแผ่เมตตา เป็นการสวดมนต์แผ่เมตตา ให้แก่ตนและผู้อื่น  ในการแผ่เมตตานี้แบ่งได้  3  อย่าง          บทสวดบูชาพระรัตนตรัย อิมินา  สักกาเรนะ  พุทธัง  อภิะปูชะยามิ อิมินา  สักกาเรนะ   ธัมมัง  อะภิปูชะยามิ อิมินา  สักกาเรนะ  สังฆัง  อะภิปูชะยามิ         บทกราบพระรัตนตรัย   อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ    (  กราบ  )   สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม ธัมมัง  นะมัสสามิ   (  กราบ  )   สุปฏิปันโน  ภะคะวะตา  ธัมโม สังฆัง  นะมามิ   (  กราบ  )         บทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า   นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมสัมพุทธัสสะ นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต   อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ         บทสวดไตรสรณะคมน์ พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ ทุติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ ตะติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ  ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะ

การเรียกชนชั้นในวงศ์วาน 2

รูปภาพ
การเรียกชนชั้นในวงศ์วานครั้งที่  2  ในครั้งที่แล้วได้พูดถึง วงศ์ญาติฝั่งพ่อ  ในวงศ์ญาติฝั่งแม่ก็นับวงศ์ญาติเช่นเดียวกับ การนับวงศ์ญาติฝั่งพ่อ   กล่าวคือ  มี 1. หลา  คือ  บุคคลดังต่อไปนี้   1.1   ตาทวดหลา (หลา )  คือ  บิดาของตาทวด    หรือ  ทวด   1.2  ยายทวดหลา ( หลา ) คือ  มารดาของตาทวด  หรือ  ทวด   1.3  ตาทวดหลา และ   ยายทวดหลา ( หลา ) คือ พี่น้องชายหญิง- รวมทั้ง  ลูกพี่ลูกน้องชายและหญิง ของ หลา   เราก็เรียกท่านเล่านั้นว่า   ตาทวดหลา   ยายทวดหลา 2. ทวด  คือ  บุคคลดังต่อไปนี้    2.1  ตาทวด  คือ  บิดาของตา   และตาทวดเป็นลูกชายของ( ตาทวดหลากับยายทวดหลา) หลา    2.2  ยายทวด คือ  มารดาของตา และยายทวดเป็นลูกสะใภ้ของ( ตาทวดหลา กับยายทวดหลา) หลา    2.3  ตาทวด  และ ยายทวด  ( ทวด ) คือ  พี่น้องชายและหญิง  รวมทั้ง ลูกพี่ลูกน้องชายและหญิง ตาทวดและยายทวดด้วย  ซึ่งเราเรียกท่านว่า  " ทวด " 3. ตา  คือ  บุคคลดังต่อไปนี้    3.1  ตา  คือ  บิดาของแม่  และตาเป็นลูกชายของ (ตาทวดกับยายทวด ) ทวด    3.2  ยาย  คือ  มารดาของแม่  และ ยายเป็นลูกสะใภ้ของ ( ตาทวดกับยายทวด

การเรียกลำดับชนชั้นในวงศ์วาน

รูปภาพ
ในแต่ละวงศ์ตระกูลจะมีทั้งตระกูลฝั่งบิดาและฝั่งมารดา รวมเรียกว่าวงศ์วาน   ( ผู้สืบสายโลหิตเดียวกัน  ) พ่อ  คือ  บิดาผู้ให้กำเนิด   และเป็นลูกเขยของตากับยาย แม่  คือ  มารดาผู้ให้กำเนิด   และเป็นลูกสะใภ้ของปู่กับย่า  ลูก  คือ  ทายาท( บุตร )ที่บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิด พี่  คือ  ผู้ที่เกิดก่อนตน  และเป็นลูกของพ่อกับแม่  หรือเป็นลูกของพ่อ หรือเป็นลูกของแม่  หรือเป็นลูกของพี่ของพ่อ  หรือเป็นลูกของพี่ของแม่ ( ลูกพี่ ) น้อง  คือ  ผู้ที่เกิดหลังตน   และเป็นลูกของพ่อกับแม่  หรือเป็นลูกของพ่อ  หรือเป็นลูกของแม่ หรือเป็นลูกของน้องพ่อ  หรือเป็นลูกของน้องแม่  (  ลูกน้อง ) ตน  คือ  ตัวของเราเอง   ผู้เป็นลูกของพ่อของแม่ ในแต่ละวงศ์ตระกูลจะประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้  คือ 1.  ในวงศ์ตระกูลของฝั่งบิดามีดังนี้    คือ   1.1  วงศ์ตระกูลฝั่งปู่ทวดหลา ( หลา ) สมมุติว่าตระกูล" ฉลาดยิ่ง  น้ำทิพย์ " ซึ่ง ประกอบด้วย      1. ปู่ทวดหลา (หลา )   คือ  บิดาของปู่ทวด   หรือ พี่ชายและน้องชายของปู๋ทวดหลากับของ ย่าทวดหลา   รวมทั้ง   ลูกพี่ลูกน้องผู้ชายของปู่ทวดหลากับย่าทวดหลาด้ว

บทสวดมนต์

รูปภาพ
ในบางครั้งท่านอาจหาบทสวดมนต์  เพื่อต้องการสวดมนต์ ให้เกิดความสงบขึ้นในจิตใจของท่าน                บทสวดมนต์บูชาพระรัตนไตร   นะโมตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ   อะระหังสัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวะ พุทธัง  ภะคะวันตัง    อะภิวาเทมิ สะหวากขาโต  ภะคะวะตา   ธัมโม ธัมมัง  นะมัสสามิ สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ สังฆัง  นะมามิ                บทสวดบูชาพระพุทธคุณ   อิติปิโส  ภควา  อะระหัง  สัมมา  สัมพุโธ   วิชชา  จรณะ  สัมปันโน  สุคโต  โลกวิทู  อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะ สารถิ  สัตถา เทวะมนุสานัง พุทโธภะคะวาติ                บทสวดบูชาพระธรรมคุณ   สะหวากขาโต   ภะคะวะตา   ธัมโม   สันทิฏฐิโก   อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ                บทสวดบูชาพระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง   จ

ญาณคือ อะไร

รูปภาพ
หลายท่านอาจสับสนคำว่า  "ญาณ "  กับคำว่า   ฌาณ  หรือ ฌาน  " ญาณ  คือ   ความรู้  ปัญญา     กล่าวคือ 1)  ความรู้  คือ  การเข้าใจ  หรือ  ทราบ  เนื้อเรือง  ที่  มาจาก   1.  การฟัง  คือ  ตั้งใจคอยรับเสียงด้วยหู   ได้ยิน  เชื่อ   2. การมองเห็น  คือ      2.1  มอง  คือ   แลดู  ลอบดู  สอดแนม      2.2  เห็น  คือ  รู้สึกด้วยตา  ดูด้วยตา   เข้าใจ  คิดรู้   3. การศึกษา  คือ  การเล่าเรียน   การฝึกอบรม       3.1  เล่าเรียน  คือ  หาความรู้   เพาะความรู้   ฝึกหัด       3.2  ฝึกอบรม  คือ  สั่งสอนหัดให้ทำจนเป็น  ขัดเกลาหัดให้ทำจนได้   4.  การสัมผัส  คือ  การกระทบกาะทั่ง   การถูกต้อง( ร่างกาย หรือ  สิ่งของต่าง ๆ ) การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน กับอายตนะภานนอก  แล้วเกิดวิญญาณ (  ความรู้สึกทั่วไป จิต  ใจ  อารมณ์ )  คือ ความรู้ครบ  3  อย่างนี้เรีกยว่า สัมผัส   เช่น      4.1  จักษุสัมผัส  คือ  ตาเห็นรูป แล้วเกิดความรู้สึก      4.2  โสตสัมผัส  คือ  หูได้ยิน   แล้วเกิดความรู้สีก      4.3  นาสิกสัมผัส  คือ   จมูกได้กลิ่น  แล้วเกิดความรู้สึก     จิต  คือ  ใจ     ใ

ฌาณ คือ อะไร

รูปภาพ
ฌาณ ( ฌาน )  คือ  การเพ่งจนอารมณ์แน่วแน่   หรือ การเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่  เรียกว่า " อัปนาสมาธิ "   ปฐมฌาณ   (  ปฐมฌาน )  คือ  การเพ่งจนอารมณ์แน่วแน่ใน เบื้องแรก  หรือ   การเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ในเบื้องแรก มีองค์   5  คือ   1.  วิตก  คือ  ความตรึก  ความตริตรอง   ความคิด  ตรึกนึก คิด   เป็นทุกข์  ร้อนใจ   กังวล   2.  วิจาร  ,  วิจารณ์  คือ  ตรอง   ใคร่ครวญ  ตรวจตรา   สอบสวน  ติชม   ความตรอง   3.  ปิติ  คือ  การอิ่มใจ   การปลื้มใจ   การยินดี   4.  สุข  คือ  ความสบาย   เจริญ  ดี  ความสะดวก  ความสำราญ   ความสนุก   สบาย   น่ายินดี เป็นที่พอใจ    5.  เอกัคตา  คือ  ความมีจิตแน่วอยู่ในอารมณ์อันเดียว   สมณะ   คือ  ผู้สงบ ธรรมจารี  คือ  ผู้ประพฤติธรรม ธรรมจักษุ  คือ  ผู้มีปัญญาเห็นธรรม  หรือ  ผู้มีปัญญารู้ธรรม   ธรรมจริยา  คือ  การประพฤติธรรม กสิณ  คือ  การบำเพ็ญทางใจ อุดร  คือ  สูง  ข้างบน   พ้น   ทิศเหนือ  ถือศีล  คือ  รักษาจรรยาดี   รักษาความประพฤติดี ศีลสมาทาน  คือ  การถือศีล ผู้มีศีลธรรม  คือ  ผู้มีความประพฤติที่ดีที่ชอบ สมาทาน  คือ  กาถือเอ

อริยสัจสี่ คือ อะไร

รูปภาพ
อริยะ คือ  เจริญ   เด่น   ประเสริฐ   ถูกต้อง   เป็นเยี่ยงอย่าง ดี  และ ใช้เรียก บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ  (  โสดาปัตติมรรค ) ว่า พระอริยะ หรือ อริยบุคคล อริยะธรรม  คือ  อารยาธรรม  ( ธรรมอันดีงาม  ความเจริญ ด้วยขนบธรรมเนียมที่ดีแห่งอารยชน  ) อริยะชน  คือ  อารยชน  (  ผู้เจริญ  ) อารยะ  คือ  ผู้มีธรรม หรือ  ผู้มีความงาม ความเจริญ ความซื่อตรง     หรือ อริยะ   อาริยะ    อาริย์ อารยะเจ้า   ,  อริยะเจ้า   คือ  ผู้ที่สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุด   ผู้สำเร็จพระนิพพาน  ( พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า  )  สัจ ,  สัจจะ  คือ   ความจริง   ความแท้  อริยสัจ  คือ  ความจริงที่ถูกต้อง   ความจริงอันเป็นเยี่ยงอย่าง  ความจริงของพระอริยะ อริยสัจสี่  คือ  ความจริงอันเป็นแบบ    ความจริงแท้  4  ข้อ  ดังนี้   1.  ทุกข์  คือ  ความลำบาก  ความยาก  ความเจ็บปวด   2.  ทุกข์สมุทัย  คือ  ที่เกิดแห่งทุกข์   ตัณหา   ความดิ้นรน   3.  ทุกข์นิโรธ   คือ  ความดับทุกข์   พระนิพพาน   4.  มรรค  คือ  ทางแห่งความดับทุกข์   ธรรมอันเป็นหนทางให้บรรลุอริยะผลมี  4 อย่าง  ดังนี้     4.1  โสดาปัตติมรรค  คือ  ธรรมชั้นต้

วิชชาคืออะไร

รูปภาพ
วิชชา  คือ   ความตรัสรู้   รู้แจ้ง   เข้าใจ  ทราบแจ้ง วิชชาแบ่งออกเป็น  2  ประเภท   คือ 1.  วิชชา 3   แบ่งเป็น    1.1   รู้จักระลึกชาติได้    คือ  นึกถึง(จำได้ ) ถึง การกำเนิด หรือ จำได้ถึงการเป็นขึ้นมาของชีวิตตนว่ามีกำเนิดมาจากไหน    1.2   รู้จักกำหนดจุติและเกิด   คือ  กำหนดการตายและการกำเนิด หรือ  กำหนดการเคลื่อนที่และ การมีขึ้น  เป็นขึ้น      1.3   รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป   คือ  ทำให้ไม่อยากได้ในสิ่งของ  หรือ  ของ  ของผู้อื่น 2.   วิชชา  8 แบ่งเป็น    2.1   วิปัสสนาญาณ  ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา  คือ  ปัญญาอันประจักษ์แก่ตา   ความรู้ความเห็น แจ้ง   ความรู้ความเห็นชัดกระจ่าง    2.2   มโนมยิทธิ    ฤทธิ์ทางใจ   คือ  มีความคิดที่สามารถทำให้สำเร็จได้    2.3   แสดงฤทธิ์ได้   คือ  สามารถทำให้สำเร็จ  สามารถทำให้เจริญได้    2.4   หูทิพย์  คือ  ได้ยินในสิ่งที่ดี  สามารถแยกดี - ชั่ว   ได้ด้วยการฟัง    2.5   รู้จักกำหนดใจผู้อื่น  คือ  กำหนดความคิดคนอื่น    รู้ทันคน      2.6  ระลึกชาตืได้    2.7  ตาทิพย์  คือ  มองเห็นแต่ในสิ่งที่ดี  มองเห็นว่าสิ่งใดดีหรือเลว  มองการ

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ 2

รูปภาพ
ในครั้งนี้ต่อจากครั้งที่แล้วที่มีบทสวดมนต์บูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ  และ พระสังฆคุณ ครั้งนี้จะมีบทสวดมนต์บูชาพระคุณของบิดามารดาและ บูชาคุณครูอาจารย์          บทสวดมนต์บูชาพระคุณบิดามารดา   อนันตะคุณะ  สัมปันนา  ชะเนตติ  ชะนะกา  อุโภ  ไมหัง มาตาปิตูนังวะ  ปาเท   วันทามิ  สาทะรัง (  บิดามารดาทั้ง  2  ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมอันหาที่เปรียบมิได้  ข้า ฯ  ขอกราบเท้าทั้ง 2 ของ บิดามารดาด้วยความเคารพอย่างสูง  )          บทสวดทำนองสรภัญญะ บูชาพระคุณบิดามารดา                                          ข้าฯขอนบชนกคุณ                                          ชนนีมีเค้ามูล ผู้กอบนุกูลพูน                        ผดุงจวบเจริญวัย    ฟูมฟักทะนุถนอม                 บ  บำราศนิราไกล แสนยากเท่าไรไร                    บ  คิดยากลำบากกาย    ตรากทนระคนทุกข์               ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย ปกป้องซึ่งอันตราย                  จนได้รอดเป็นกายา    เปรียบหนักชนกคุณ              ชนนีคือภูผา ใหญ่พื้นพสุนธรา                     ก็  บ  เทียบ  บ  เทียมทัน    เหลือที่จะแทนทด              

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ

รูปภาพ
ในบางครั้งท่านอาจต้องการบทสวดมนต์  และ บทสวด- ทำนองสรภัญญะ  ท่านสามารถหาได้ที่นี่          บทสวดพระพุทธคุณ   อิติปิโส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมา  สัมพุทโธ  วิชชา  จรณะ สัมปันโน  สุคโต  โลกวิทู  อนุตตะโร  ปุริสธัมมสารถิ  สัตถา เทวะมนุสานัง  พุทโธ  ภควาติ         บทสวดทำนองสรภัญญะ บูชาพระพุทธคุณ                                            องค์ใดพระสัมพุทธ                                              สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกสศมาร                        บ  มิหม่น  มิหมองมัว  หนึ่งนัยพระทัยท่าน                  ก็ เบินบาน  คือ  ดอกบัว ราคี บ  พันพัว                          สุวคนธ กำจร  องค์ใดประกอบด้วย                  พระกรุณาดังสาคร โปรดหมู่ประชากร                     มละโอฆกันดาร  ชี้ทางบรรเทาทุกข์                   และชี้สุขเกษมศานต์ ชี้ทางพระนฤพาน                     อันพ้นโศกวิโยคภัย  พร้อมเบญจ พิธจัก-                  ษุจรัสวิมลใส เห็นเหตุที่ใกล้ไกล                    ก็เจนจบประจักษ์จริง  กำจัดน้ำใจหยาบ                     สันดานบาปแห่งชายหญิง สัตว

จตุรพรความเจริญที่ชนปรารถนา

รูปภาพ
จตุรพร   หรือ  จตุรภัทร   ความเจริญที่ชน ( คน  มนุษย์  ) ปรารถนา  4  อย่างคือ   1.  อายุ  คือ  ชีวิต   เวลาแห่งการดำรงชีวิต   2.  วรรณะ  คือ  ความงาม  ความสรรเสริญ   ความยกย่อง รูปร่าง   การพูดจา     แสง    สี   3.  สุขะ   คือ  ความสะดวกสบาย  ความสนุกสำราญ ความยินดี  ความพอใจ  ความดี  ความเจริญ   4.  พละ  คือ  กำลัง   ความแข็งแรง สมบรูณ์    ความมีสุขภาพที่ดี หรือ   1.  อายุ   คือ  ชีวิต  เวลาแห่งการดำรงชีวิต   2.  วิทยา  คือ  ความรู้   วิชาความรู้   3.  ยศ  คือ  ความดี  ความงาม  ความยกย่อง  ความนับถือ  ยศฐาบรรดาศักดิ์    เกียรติ   4.  พละ  คือ  กำลัง   ความแข็งแรงสมบรูณ์   ความมีสุขภาพดี  หรือ   1.  ธรรมะ   คือ  คุณความดี   2.  กาม  คือ  ความรัก  ความพอใจ   ความรักใคร่   3.  อรรถะ  คือ  ความประสงค์  ประโยชน์  ทรัพย์  รายได้   4.  พละ  คือ  กำลัง  ความแข็งแรงสมบรูณ์   ความมีสุขภาพที่ดี หรือ   1.  ธรรมะ  คือ  คุณความดี   2.  กาม   คือ  ความรัก  ความพอใจ  ความรักใคร่   3.  อรรถะ  คือ  ความประสงค์   ประโยชน์  ทรัพย์  รายได้   4.  โมกษะ (  โมกข์

มารคืออะไร

รูปภาพ
มาร  คือ   ผู้ฆ่าบุญ  ฆ่ากุศล     ผู้กีดกั้น     ผู้ทำลาย   ฆ่า   คือ   ทำให้ตาย    ทำลายเสีย   บุญ   คือ   ความดี   กุศล  คุณเครื่องชำระสันดาน กุศล   คือ  สิ่งที่ดี   สิ่งที่ชอบ   บุญ   ถูกต้อง   สมควร   เหมาะ   งาม   สบาย   ไม่มีโรค  เรียบร้อยดี   มั้งคั่ง รอบรู้  ชำนิชำนาญ   คล่องแคล่ว  ฉลาด     กั้น   คือ  ขวางไว้  บัง  ปิด   ห้าม กีด  คือ  ขวาง  เกะกะ  กั้น กีดกั้น   คือ   ขัดขวาง ทำลาย  คือ  รื้อ   ทลาย  พัง  ทำให้ฉิบหาย   ทำให้หมดสิ้นไป   มาร  คือ  ผู้ที่ทำลายความดี  หรือ  ผู้ที่ทำลายเครื่องชำระสันดาน ขัดขวางมิให้ ประพฤติ  ปฏิบัติตน ไปในทางที่ดีงาม   ไปในทางที่ฉลาด  รอบรู้   ชำนิชำนาญ    ไปในทางที่ถูกต้อง  ที่เหมาะ     ที่ควร  ที่ชอบ  ที่ดี    วิธีการปฏิบัติเพื่อที่จะเป็นผู้ชนะมาร  ก็คือ 1.  ต้องมีสติ  คือ   มีความรู้สึกตัว   มีความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี 2.  ต้องมีสติสัมปชัญญะ  คือ  มีความระลึกได้และความรู้ตัว ว่ากำลังกระทำสิ่งใดอยู่่ 3.  ต้องมีวิริยะ  คือ  มีความเพียร  มีความพยายาม 4.  ต้องมีมานะ   คือ  มีความพยายาม ในการปฏิบัติ  การงาน  หรือ  

หลักธรรมในการสมาคม

รูปภาพ
หลักธรรมในการสมาคม  มี 4  ประการคือ 1.  ทาน  คือ   ให้สิ่งของ ของตน แก่ผู้อื่น 2.  ปิยะวาจา  คือ  เจรจาด้วยถ้อยคำ ที่ สุภาพ อ่อนหวานไพเราะ 3.  อัตถจริยา  คือ  ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น 4.  สมานัตตา  คือ  เป็นคนสม่ำเสมอไม่ถือตัว เจ้าบ้านควรปฏิบัติระหว่างสนทนากับแขก(ผู้มาเยือน )  ดังนี้ 1.  พูดเท่าที่จำเป็น   ฟังให้มากอย่าพูดมากนัก 2.  อย่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้มากเกินไป    คนอื่นจะเบื่อ 3.  อย่าบ่นถึงเคราะห์กรรมใดๆ  หรือบ่นว่างานมาก  เพราะเป็นการแสดงความอ่อนแอ 4.  อย่าถ่อมตัวจนเกินไป  เป็นการให้ผู้ฟังดูหมิ่น 5.  อย่าอวดถึงความมั่งมี  ความร่ำรวย   คนอื่นจะหัวเราะเยาะได้ 6.  อย่านินทาคนในครอบครัวของตนให้ผู้อื่นฟัง 7.  อย่าบ่นว่าไม่ชอบใครต่อใคร  ถ้าเป็นผู้บังคับบัญชก็ต้องระวังให้มาก 8.  อย่าล้อเลียนเพื่อนในเรื่องเกี่ยวกับความรัก 9.  อย่ากล่าวคำหยาบ หรือ  วาจาสามหาว 10. อย่าติเตียนผู้ที่เคารพ  เช่น  บิดามารดา  บุพพารี   ครู  อาจารย์  ผู้บังคับบัญชา 11. อย่าบอกปัดความหวังดีของผู้อื่น 12. อย่าขัดคอ  หรือ  โต้เถียงจนเกินควร  เมื่อความเห็นไม่ลงรอย  ค

ดับขันธปรินิพพาน

รูปภาพ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพาน ดับ  คือ   มอด  สูญ  หาย   ระงับ  หมดไป  สิ้นไป    ทำให้หมดไป ขันธ์  คือ  ส่วนหนึ่งของนามที่แยกออกเป็น  5  กอง  คือ 1.  รูป  คือ  ร่างกาย  ความงาม 2.  เวทนา  คือ  ความรู้สึกสุขทุกข์  เจ็บปวด  ทรมาน 3.  สัญญา  คือ  ความตกลง  ความเข้าใจ  ความรู้สึก 4. สังขาร  คือ  ร่างกาย  จิตใจ  อาการของกายวาจาใจ 5.  วิญญาณ  คือ  ความรู้สึกทั่วไป    อารมณ์ นิพพาน  คือ  ความดับกิเลสและกองทุกข์    การออกจากกิเลสและกองทุกข์ การดับกิเลสมี  2  อย่าง  คือ   1.  การดับกิเลสที่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่   2.  การดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่ ปริ  คือ  รอบ   กำหนด ปรินิพพาน  คือ   การดับรอบ   การดับสนิท  การดับโดยไม่เหลือ      ตาย     เรียกอาการ สวรรคตของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า " ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน  "

เสวยวิมุตติสุข

รูปภาพ
     สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสวยวิมุตติสุข หลังจากทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยา  และทรงค้นพบหนทางแห่งการ ดับทุกข์ วิมุตติ  คือ   ความพ้นจากบ่วงภพอันมี  เกิด   แก่   เจ็บ  ตาย มิรู้จักจบจักสิ้น   พระนิพพาน พ้น  คือ   หลุดไป   รอดไป   เลยไป  ผ่าน  จาก  สิ้น   หมด   เกิน บ่วง  คือ  เครื่องรัดรึง  เชือกที่ทำเป็นห่วงสำหรับคล้อง หรือ ดักสัตว์ ภพ  คือ  โลก  แผ่นดิน เกิด  คือ  มีขึ้น  เป็นขึ้น  คลอด  กำเนิด แก่   คือ   จัด   เฒ่า   เก่า   นาน เจ็บ   คือ   ป่วย  รู้สึกทางกายเมื่อถูกทุบตี   หรือ  เป็นแผล   เจ็บมี  5  ประเภท  ดังนี้      1.  เจ็บไข้  คือ  ป่วยเป็นโรค      2.  เจ็บใจ    คือ  แค้น   ช้ำใจ      3.  เจ็บช้ำ  คือ  เจ็บด้วยชอกช้ำ  ชอกช้ำใจ  แค้นใจ      4.  เจ็บปวด  คือ  ทั้งเจ็บทั้งปวด   แค้นใจมาก   เป็นทุกข์ใจมาก      5.  เจ็บแสบ  คือ  ทั้งเจ็บทั้งแสบ  แค้นใจมากเดือดร้อนใจมาก ตาย  คือ  สิ้นใจ   ไม่เป็นอยู่ต่อไป   ไม่ไหวติง มิรู้จักจบจักสิ้น   คือ   ไม่มีที่สิ้นสุด พระนิพพาน  คือ  ความดับกิเลส  และ กองทุกข์      การออกจากกิเลสและกองทุกข์ ดับ  คือ  มอ

อนาคามีผู้ไม่มาสู่กามธาตุอีก

รูปภาพ
 อนาคามี   ผู้ไม่มาสู่กามธาตุอีก    คือ   ผู้ที่ ไม่มาสู่ ความรัก ความใคร่ไม่ทะยานอยากในอารมณ์รักใคร่  ในกามราคะ ในรูป  รส   กลิ่น  เสียง  สัมผัส   ในโลกแห่งกาม อนาคามีผล  คือ   ธรรมที่พระอนาคามีได้บรรลุ นิโรธ  คือ  ความดับทุกข์    พระนิพพาน สมุทัย  คือ  เหตุให้ทุกข์เกิด นิโรธสมาบัติ  คือ  การเข้าสู่นิโรธ (  ความดับทุกข์  )  เข้าฌาณ-  เป็นพิธีพักผ่อนของพระอรหันต์ อรหันต์  คือ  ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา  ผู้สำเร็จพระนิพพาน   พระพุทธเจ้า มีคุณ   น่านับถือ    ฌาณ  คือ  การเพ่งจนอารมณ์แน่วแน่   การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ ญาณ  คือ  ความรู้  ปัญญา   มี  4  อย่าง  คือ   1. ความรู้  คือ  ความเข้าใจ  หรือ  ทราบเนื้อเรื่อง  ที่ได้มาจากการฟัง   การมองเห็น  การศึกษา หรือ  การสัมผัส   2.  เครื่องรู้   คือ  สิ่งของที่ทำให้ทราบ  หรือ  เข้าใจ  เช่น  หนังสือ  วิทยุ   โทรทัศน์   และ  อื่น ๆ   3.  ปัญญา  คือ  ความรอบรู้  ความรู้ทั่ว   ความฉลาด  อันเกิดแต่การเรียน และ ใช้ความคิด ความรู้เท่าทันคน  มีไหวพริบ ปฏิภาณ ดี   เฉลียวฉลาด   4.  ปรีชา  คือ  รอบรู้  เฉลี

พระพุทธเจ้า

รูปภาพ
       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงสั่งสอนปวงชน ให้เป็น ผู้ดี   คือ  เป็นผู้มีความประพฤติดี เพื่อเป็น เนื้อนาบุญของสังคม ตรัส   แปลว่า  พูด    แจ้ง พูด   แปลว่า   กล่าว แจ้ง  แปลว่า  บอก  กล่าว  รู้    กระจ่าง  สว่าง   ชัด รู้  แปลว่า   ทราบ   เข้าใจ ตรัสรู้   คือ  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงรับสั่งอย่างผู้เข้าใจ     ทรงรับสั่งอย่างผู้ทราบ ทรงเข้าใจแจ้ง    ทรงทราบแจ้ง  คือ  ทรงเข้าใจชัด   ทรงทราบชัด  ในทางโลก(  ในความต้องการ ของชีวิต   )  ว่า ทุกชีวิต  ต้องการเหมือนกันคือ  บ้าน( ที่อยู่อาศัย  )  เครื่องนุ่งห่ม  (  เสื้อผ้า  ) ยา (รักษาโรค  )  อาหาร  (  ที่ทำมาหากิน เพื่อเลี้ยงชืวิตตนและครอบครัว โดยชอบ ) ทรงรับสั่งถึงความเป็นธรรม แห่ง  อารยะชน  เพื่อความสงบสุขแห่งสังคม ธรรม  คือ  ความเป็นธรรม  คุณความดี  ความยุติธรรม บุญ  คือ  ความดี  ความสุข   กุศล สัมมา  แปลว่า   ชอบ  ดี  ดียิ่ง สัมพุทธ  แปลว่า  ผู้ตื่นเอง  ผู้รู้เอง บุญญานุภาพ  แปลว่า  อำนาจแห่งบุญ บุญญาภินิหาร  แปลว่า  ความปรารถนาอันแรงกล้าในความดี  บุญที่ให้สำเร็จได้ตามปรารถนา สัตถา

กามคืออะไร

รูปภาพ
คุณคงได้ยินคำว่า  " กาม "มานานแล้ว  แต่คุณทราบ ไหมว่า กามคืออะไร  หลายคนคงตอบว่าคือการ มีเพศสัมพันธ์ แต่อันที่จริง   กาม   คือ   ความรัก  ความใคร่   ความพอใจ ที่รัก   ที่ใคร่    ที่พอใจ    กามแบ่งออกเป็น 1.  กามคุณ  คือ  สิ่งปรารถนา 5 ประการ  ได้แก่     1.1  รูป  ได้แก่   ร่างกาย  ความงาม   1.2  รส  ได้แก่   ความรู้สึกชอบใจ   1.3  กลิ่น  ได้แก่  สิ่งที่รู้สึกด้วยจมูก   1.4  เสียง  ได้แก่  สิ่งที่ได้ยินด้วยหู   คำที่เปล่งออกมา   1.5  สัมผัส  ได้แก่  ความรู้ 3 อย่าง  คือ         1. ตาเห็นรูป  ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นได้         2.จมูกได้กลิ่น  ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นได้         3.หูได้ยินเสียง   ทำให้รู้สึกขึ้นได้ 2.  กามตัณหา   คือ  ความทะยานอยากในอารมณ์ที่รักใคร่ 3.  กามภพ    คือ  ที่เกิดของสิ่งมีชีวิต( ไม่ใช่พืช ) ที่ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม 4. กามราคะ  คือ  กำหนัดในกาม 5. กามาพจร  คือ  โลกแห่งกาม  มี 6  อย่าง  คือ         1.  จาตุรมหาราชิกายิก           2 . ดาวดึงส์  สวรรค์ชั้น  2         3. ดุษิต  สวรรค์ชั้น  4         4. ยาม    1ยามม