มารยาท

   มารยาท  คือ  กิริยาวาจาที่ถือว่าเรียบร้อย

การแสดงกิริยาที่ดีที่เรียบร้อยก็คือ  การมีสัมมาคารวะ

ไม่ก้าวร้าว  หยาบคาย  ไม่หยาบกระด้าง  เป็นผู้รู้กาลเทศะ

รู้จักระงับอารมณ์ในการสมาคม  และรู้จักวางตัว

ต้องรู้จักที่ต่ำที่สูง  กิริยาเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า

มีชาติตระกูลเป็นอย่างไร  ดังสุภาษิตที่ว่า "  สำเนียงบอกภาษา   กิริยาบอกตระกูล  "

  กิริยาเป็นการแสดงอาการเคลื่อนไหวของร่างกายทุกอิริยาบถ  ต้องเป็นไปด้วยดี สุภาพงดงาม

ไม่ควรดัดเสียงหรือจีบปากในการสนทนากับใครๆ  ตาต้องมองตรง  ตาเป็นเครื่องแสดงความบริสุทธิ์

แขนปล่อยตามปกติ

  วาจาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  หากวาจาที่กล่าวออกมา  ปราศจากความไพเราะ  ขาดความสุภาพนุ่มนวล

การกล่าววาจาเช่นนั้น   เป็นเครื่องส่อถึงความไม่สุภาพเรียบร้อย

  ลักษณะการพูด  ควรพูดเรียบๆ  ดังพอประมาณ  แสดงความตั้งใจและสมัครใจในการพูด

ควรพูดในลักษณะปานกลางไม่เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป  ไม่ควรพูดด้วยถ้อยคำที่เผ็ดร้อนรุนแรง

หยาบคาย  ส่อเสียดหรือเสียดสี  หรือยกตนข่มท่าน

   มารยาทของผู้ไปในงานเลี้ยง  คือ

1.  นั่งให้เรียบร้อย  มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส

2.  สนทนากับแขกข้างเคียง  ในเรื่องที่เพลิดเพลิน  ด้วยกิริยาอาการที่่ร่าเริง

3.  อย่าสาละวนอยู่กับอาหาร  และไม่ชวนผู้อื่นสนทนาขณะที่อาหารอยู่ในปาก  หรือ ขณะที่

ผู้อื่นกำลังนำอาหารเข้าปาก

4.  ในขณะรับประทานอาหาร   ควรระวังกิริยามารยาทและอาการเหล่านี้  คือ  เสียงการ เคี้ยวดัง

ไอ   จาม   สูด   และ สั่ง   อย่าให้มีเป็นอันขาด

5.  เมื่อหมดอาหารคาว  เริ่มอาหารหวาน  ควรระวังการดื่มอวยพร

6.  เวลาดื่มอวยพร  ต้องชูแก้วเพียงหน้าผาก  หรือสูงขึ้นเหนือหน้าผากเล็กน้อย

7.  ขณะที่มีการกล่าวสุนทรพจน์  ให้หันหน้าไปทางผู้กล่าวด้วยอาการสงบเสงี่ยม

8.  ถ้าตนมิได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์  อย่าลุกขึ้นกล่าวเป็นอันขาด

คลิกอ่านที่นี่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ 2

บ่วงกรรม

ลูก คือ แก้วตาดวงใจ