วิชชาคืออะไร
วิชชาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. วิชชา 3 แบ่งเป็น
1.1 รู้จักระลึกชาติได้ คือ นึกถึง(จำได้ ) ถึง การกำเนิด
หรือ จำได้ถึงการเป็นขึ้นมาของชีวิตตนว่ามีกำเนิดมาจากไหน
1.2 รู้จักกำหนดจุติและเกิด คือ กำหนดการตายและการกำเนิด
หรือ กำหนดการเคลื่อนที่และ การมีขึ้น เป็นขึ้น
1.3 รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป คือ ทำให้ไม่อยากได้ในสิ่งของ หรือ ของ ของผู้อื่น
2. วิชชา 8 แบ่งเป็น
2.1 วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา คือ ปัญญาอันประจักษ์แก่ตา ความรู้ความเห็น
แจ้ง ความรู้ความเห็นชัดกระจ่าง
2.2 มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือ มีความคิดที่สามารถทำให้สำเร็จได้
2.3 แสดงฤทธิ์ได้ คือ สามารถทำให้สำเร็จ สามารถทำให้เจริญได้
2.4 หูทิพย์ คือ ได้ยินในสิ่งที่ดี สามารถแยกดี - ชั่ว ได้ด้วยการฟัง
2.5 รู้จักกำหนดใจผู้อื่น คือ กำหนดความคิดคนอื่น รู้ทันคน
2.6 ระลึกชาตืได้
2.7 ตาทิพย์ คือ มองเห็นแต่ในสิ่งที่ดี มองเห็นว่าสิ่งใดดีหรือเลว มองการณ์ไกล
2.8 รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป
ทิพย์ แปลว่า เป็นของเทวดา
เทวดา แปลว่า ผู้มีความดี เทพ ชาวสวรรค์
วิญญู คือ นักปราชญ์ ผู้รู้แจ้ง ฉลาด
ปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉาน มี 4 อย่าง คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา ( อรรถ ) คือ การอธิบายเนื้อความ การเข้าใจในเนื้อความ
การได้ผลประโยชน์แห่งเนื้อความ ความเข้าใจในเนื้อความและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่ตน
และผู้อื่น
2. ธรรม ( คุณความดี ) คือ การจัดตั้งหัวข้อแห่งคุณความดี เพื่อหาเหตุและผล แห่งการปฏิบัติ
คุณงามความดีนั้น
3. นิรุตติ ( ภาษา ) คือ มีความเข้าใจในการใช้ภาษา และ รู้จักใช้ภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจ และ
ให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ รวมทั้ง การเรียนรู้และเข้าใจภาษาต่างประเทศ
4. ปฏิภาณ ( ไหวพริบ ) คือ มีไหวพริบดี ทำให้เข้าใจในทันทีในเหตุผลที่เกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน
หรือ กล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที
บารมี คือ คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัตืที่ทำให้ยิ่งใหญ่
บำเพ็ญ คือ ประพฤติ ทำให้เต็ม ทำให้มีขึ้น
คลิกอ่านที่นี่
คลิกอ่านที่นี่
คลิกอ่านที่นี่
คลิกอ่านที่นี่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น