ฌาณ คือ อะไร

ฌาณ ( ฌาน )  คือ  การเพ่งจนอารมณ์แน่วแน่   หรือ

การเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่  เรียกว่า " อัปนาสมาธิ "  

ปฐมฌาณ   (  ปฐมฌาน )  คือ  การเพ่งจนอารมณ์แน่วแน่ใน

เบื้องแรก  หรือ   การเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ในเบื้องแรก

มีองค์   5  คือ

  1.  วิตก  คือ  ความตรึก  ความตริตรอง   ความคิด  ตรึกนึก

คิด   เป็นทุกข์  ร้อนใจ   กังวล

  2.  วิจาร  ,  วิจารณ์  คือ  ตรอง   ใคร่ครวญ  ตรวจตรา   สอบสวน  ติชม   ความตรอง

  3.  ปิติ  คือ  การอิ่มใจ   การปลื้มใจ   การยินดี

  4.  สุข  คือ  ความสบาย   เจริญ  ดี  ความสะดวก  ความสำราญ   ความสนุก   สบาย   น่ายินดี

เป็นที่พอใจ

   5.  เอกัคตา  คือ  ความมีจิตแน่วอยู่ในอารมณ์อันเดียว  

สมณะ   คือ  ผู้สงบ

ธรรมจารี  คือ  ผู้ประพฤติธรรม

ธรรมจักษุ  คือ  ผู้มีปัญญาเห็นธรรม  หรือ  ผู้มีปัญญารู้ธรรม  

ธรรมจริยา  คือ  การประพฤติธรรม

กสิณ  คือ  การบำเพ็ญทางใจ

อุดร  คือ  สูง  ข้างบน   พ้น   ทิศเหนือ 

ถือศีล  คือ  รักษาจรรยาดี   รักษาความประพฤติดี

ศีลสมาทาน  คือ  การถือศีล

ผู้มีศีลธรรม  คือ  ผู้มีความประพฤติที่ดีที่ชอบ

สมาทาน  คือ  กาถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ

สมาบัติ  คือ  การบรรลุความสำเร็จ   การเข้าฌาณ ( ฌาน )  มี  8ชั้น  คือ

  1.  รูปฌาน   4

  2. อรูปฌาน   4

สมาธิ  คือ  การตั้งจิตมั่น  การสำรวมใจ   การเพ่งเล็งอย่างแน่วแน่

ฌาณ ( ฌาน ) มี  4  ชั้น  คือ

  1.  ปฐมฌาน

  2.  ทุติยฌาน

  3. ตติยฌาน

  4. จตุตถฌาน

สงบ  คือ  นิ่ง  หยุด  เงียบ  หาย  ปราศจากการรบกวน

ผู้สงบ   คือ  ผู้หยุด  ผู้นิ่ง  ผู้เงียบ

สมถะ  คือ  ผู้ถือเอาความสงบ เป็นเครื่องนำ   ผู้สงบจิต

สัมปชัญญะ  คือ  ความรู้ตัวอยู่เสมอ  ความระมัดระวัง

สัมปทา  คือ  ความสำเร็จ   ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี

สัทธา  คือ  ความเชื่อ  ความเลื่อมใสในธรรม

สาธุ  คือ  ดี   งาม  ถูกต้อง  ชอบแล้ว  เหมาะ

นักบวช  คือ  ผู้ถือศีล   (   ผู้มีจรรยาดี   ผู้มีความประพฤติดี    ผู้รักษาจรรยาดี   ผู้รักษา

ความประพฤติดี  )

ปริตร  คือ  ความต้านทาน  เครื่องป้องกัน  

จรณะ  คือ  การประพฤติอันดี   อันเป็นบุญ   ทางที่ดำเนิน

สรณะ  คือ  ที่พึ่ง    ความระลึก

สรณะคมน์ (  สรณาคมน์ )  คือ  การยึดเอาเป็นที่พึ่ง

ธรรมสรณะคมน์  คือ  การยึดเอาคุณความดีเป็นที่พึ่ง

เบญจพล   คือ  กำลังห้า   มีดังนี้

  1.  ศรัทธา   คือ  ความเลื่อมใส  ความเชื่อถือ

  2.  วิริยะ  คือ  ความเพียร  ความพยาม
 
  3.  สติ  คือ  ความรู้สึกตัว  ความรู้สึกผิดชอบ

  4.  สมาธิ  คือ  ความตรึกตรองอย่างแน่วแน่

  5.  ปัญญา  คือ  ความรอบรู้   ความรอบรู้ทั่ว 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ 2

บ่วงกรรม

ลูก คือ แก้วตาดวงใจ