หลักธรรมในการสมาคม

หลักธรรมในการสมาคม  มี 4  ประการคือ

1.  ทาน  คือ   ให้สิ่งของ ของตน แก่ผู้อื่น

2.  ปิยะวาจา  คือ  เจรจาด้วยถ้อยคำ ที่ สุภาพ อ่อนหวานไพเราะ

3.  อัตถจริยา  คือ  ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

4.  สมานัตตา  คือ  เป็นคนสม่ำเสมอไม่ถือตัว

เจ้าบ้านควรปฏิบัติระหว่างสนทนากับแขก(ผู้มาเยือน )  ดังนี้

1.  พูดเท่าที่จำเป็น   ฟังให้มากอย่าพูดมากนัก

2.  อย่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้มากเกินไป    คนอื่นจะเบื่อ

3.  อย่าบ่นถึงเคราะห์กรรมใดๆ  หรือบ่นว่างานมาก  เพราะเป็นการแสดงความอ่อนแอ

4.  อย่าถ่อมตัวจนเกินไป  เป็นการให้ผู้ฟังดูหมิ่น

5.  อย่าอวดถึงความมั่งมี  ความร่ำรวย   คนอื่นจะหัวเราะเยาะได้

6.  อย่านินทาคนในครอบครัวของตนให้ผู้อื่นฟัง

7.  อย่าบ่นว่าไม่ชอบใครต่อใคร  ถ้าเป็นผู้บังคับบัญชก็ต้องระวังให้มาก

8.  อย่าล้อเลียนเพื่อนในเรื่องเกี่ยวกับความรัก

9.  อย่ากล่าวคำหยาบ หรือ  วาจาสามหาว

10. อย่าติเตียนผู้ที่เคารพ  เช่น  บิดามารดา  บุพพารี   ครู  อาจารย์  ผู้บังคับบัญชา

11. อย่าบอกปัดความหวังดีของผู้อื่น

12. อย่าขัดคอ  หรือ  โต้เถียงจนเกินควร  เมื่อความเห็นไม่ลงรอย  ควรหยุด

สัทธรรม  คือ  ธรรมของคนดี   มี  7  ประการ   คือ

1.  ศรัทธา  คือ  ความเชื่อถือ   ความเชื่อรู้จักเชื่อในเหตุและผลที่ควรเชื่อ   ความเลื่อมใสอย่าง

ฉลาดและสุจริต

   1.1   เชื่อถือ  คือ  นับถือ

   1.2   เชื่อใจ   คือ   ไว้ใจ

2.  หิริ  คือ  ความละอายแก่ใจต่อการกระทำความชั่วร้าย

3.  โอตัปปะ  คือ  ความเกรงกลัวที่จะกระทำความชั่วร้าย

4.  พาหุสัจจะ  คือ  ผู้ได้ฟังมาก  ย่อม ประพฤติตนให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม   ไม่เป็นคน

งมงาย  

5.  วิริยะ  คือ  ความเพียร  ความบากบั่น ทำการงาน    ความกล้าหาญ   ความพยายาม

ความเพียร   แบ่งเป็น   4   ประเภท   คือ

  5.1  ความเพียรในการระวังบาป  คือ  ระวังมิให้ความชั่วร้ายเกิดขึ้นในสันดาน

  5.2  ความเพียรในการละบาป  คือ   ละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป

  5.3  ความเพียรที่จะทำบุญ  คือ  ทำความดีให้เกิดขึ้นในสันดาน

  5.4  ความเพียรที่จะรักษาบุญกุศล   คือ  รักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมไป

6.  สติ  คือ  ความระลึกได้

7.  ปัญญา  คือ  ความรอบรู้  เฉลียวฉลาด  รู้ทางเสื่อม  และ ทางเจริญ   รู้ทันคน

คลิกอ่านที่นี่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ 2

บ่วงกรรม

ลูก คือ แก้วตาดวงใจ