ญาณคือ อะไร

หลายท่านอาจสับสนคำว่า  "ญาณ "  กับคำว่า   ฌาณ  หรือ

ฌาน  "

ญาณ  คือ   ความรู้  ปัญญา     กล่าวคือ

1)  ความรู้  คือ  การเข้าใจ  หรือ  ทราบ  เนื้อเรือง  ที่  มาจาก

  1.  การฟัง  คือ  ตั้งใจคอยรับเสียงด้วยหู   ได้ยิน  เชื่อ

  2. การมองเห็น  คือ

     2.1  มอง  คือ   แลดู  ลอบดู  สอดแนม

     2.2  เห็น  คือ  รู้สึกด้วยตา  ดูด้วยตา   เข้าใจ  คิดรู้

  3. การศึกษา  คือ  การเล่าเรียน   การฝึกอบรม

      3.1  เล่าเรียน  คือ  หาความรู้   เพาะความรู้   ฝึกหัด

      3.2  ฝึกอบรม  คือ  สั่งสอนหัดให้ทำจนเป็น  ขัดเกลาหัดให้ทำจนได้

  4.  การสัมผัส  คือ  การกระทบกาะทั่ง   การถูกต้อง( ร่างกาย หรือ  สิ่งของต่าง ๆ )

การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน กับอายตนะภานนอก  แล้วเกิดวิญญาณ (  ความรู้สึกทั่วไป

จิต  ใจ  อารมณ์ )  คือ ความรู้ครบ  3  อย่างนี้เรีกยว่า สัมผัส   เช่น

     4.1  จักษุสัมผัส  คือ  ตาเห็นรูป แล้วเกิดความรู้สึก

     4.2  โสตสัมผัส  คือ  หูได้ยิน   แล้วเกิดความรู้สีก

     4.3  นาสิกสัมผัส  คือ   จมูกได้กลิ่น  แล้วเกิดความรู้สึก

    จิต  คือ  ใจ

    ใจ  คือ  ความคิด  ส่วนสำคัญหรือศูนย์ของสิ่งต่าง

     จิตใจ  คือ  อารมณ์ทางใจ

     อารมณ์  คือ  เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ  เช่น  รูป   รส  กลิ่น  เสียง   ,  ความรู้สึกเรื่องที่คิด    ,  

ความสุข  ความเพลิดเพลิน    ,   นิสัยใจคอความเป็นไปแห่งจิตใจในขณะหนึ่งๆ 

2)  ปัญญา  คือ  ความรอบรู้  ความรู้ทั่ว  ความฉลาดอันเกิดแต่เรียนและคิด ( ใช้ความคิด )

  1.  ความรอบรู้  คือ  การคงแก่เรียน (  มีความรู้ได้เหล่าเรียนมาเป็นหลักฐาน )  ความชำนาญ  (  รู้

ว่องไว  คล่องแคล่ว  )

  2.  ความรู้ทั่ว  คือ  เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง  เข้าใจตลอด   เข้าใจทุกคน   เข้าใจทุกแห่ง

ทราบทุกสิ่งทุกอย่าง   ทราบตลอด  ทราบทุกคน   ทราบทุกแห่ง

  3. ฉลาดอันเกิดแต่การเรียนและคิด  คือ   มีไหวพริบดีในการรับความรู้และตรึกตรอง   หรือ

มีความเฉียบแหลมในการบอกให้รู้และตรึกตรอง

ญาณ  แบ่งออกเป็น   4  อย่าง   คือ

  1.  ความรู้

  2.  ปัญญา

  3.  ปรีชา  คือ  รอบรู้  เฉียว  ฉลาด

  4.  เครื่องรู้  คือ  สิ่งที่ทำให้  ทราบ  และ  เข้าใจ  เช่น  หนังสือ  วิทยุ  โทรทัศน์   และ อื่นๆ

อภิญญาณ  คือ  ความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา   มี  6  อย่าง   คือ

1.  อิทธิวิธี  คือ  แสดงฤทธิ์ ( อำนาจศักดิ์   ความเจริญ  ความสำเร็จ  ความงอกงาม  )

2. ทิพโสต  คือ  หูทิพย์  (  รับฟังในสิ่งที่ดี  และสามารถแยก ดี - ชั่ว ได้ด้วยการฟัง  )

3.  เจโตปริยญาณ  คือ  รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (  รู้ว่าคนที่เข้ามาคบหรือพูดคุยด้วยคิดอะไรอยู่  )

4.  ปุพเพนิวาสานุติ  คือ  ระลึกชาติได้  (  จำได้ว่าตนเป็นใครมาจากไหน  ไม่ลืมตัว   )

5.  ทิพจักษุ  คือ  ตาทิพย์  (  มองการณ์ไกล  มองเห็นสิ่งที่ดี หรือเลว  )

6.  อาสนวักขยญาณ  คือ  รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป  (  ไม่อยากได้ในสิ่งของ   หรือ   ของ   ผู้อื่น  )

อริยะมรรค  คือ  ทางอันประเสริฐ   ธรรมที่เป็นหนทางให้บรรลุอริยผล(  อารยผล ) ,  ทางอันดี

ทางอันเลิศ

บุญเขต  คือ  เนื้อนาบุญ

บรรพ  คือ  ที่แรก   เบื้องแรก   ก่อน

ชิต  คือ  ชนะแล้ว

บรรพชิต   คือ   ในการชนะครั้งแรกต้องเอาชนะความชั่ว  ความเลว   ที่จะชักนำตนไปในทางที่ไม่ดี

ตนต้องมีความเพียรที่จะเดินไปในทางอันประเสริฐ

วัตร  คือ  กิจพึงกระทำ  หน้าที่  การปฏิบัติ  ความประพฤติ  ธรรมเนียม   การจำศีล

ธรรมเนียม  คือ  แบบแผน  แบบอย่าง   ประเพณี

ประเพณี   คือ  ขนบธรรมเนียม  แบบแผน  เชื้อสาย   การเป็นสามีภรรยากันตามขนบธรรมเนียม

ประเวณี  คือ  การเป็นสามีภรรยากันตามขนบธรรมเนียม   ประเพณี

หน้าที่  คือ  กิจที่ควรทำ  กิจที่ต้องทำ

สิทธิ  คือ  อำนาจอันชอบธรรม   ความเจริญ  ความสุข   ความร่ำรวย  ความตกลง ข้อพิสูจน์

การบรรลุ  ความสำเร็จ   การสมปรารถนา

สิทธิหน้าที  คือ  อำนาจอันชอบธรรมแห่งกิจที่ควรกระทำ

สัตถา  คือ  ครู

ประศาสน์  คือ  การแนะนำ   การสั่งสอน   การปกครอง   การสั่ง  การรักษาเมือง   การรั้งเมือง 

ศิษย์  คือ  นักเรียน   ผู้รับการอบรม

ธรรมคุณากร  คือ  คุณความดีอันเป็นบ่อเกิดแห่งความดี

ประทีป  คือ  โคมไฟ

คลิกอ่านที่นี่

คลิกอ่านที่นี่   

คลิกอ่านที่นี่ 

คลิกอ่านที่นี่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ 2

บ่วงกรรม

ลูก คือ แก้วตาดวงใจ