เสวยวิมุตติสุข

     สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสวยวิมุตติสุข

หลังจากทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยา  และทรงค้นพบหนทางแห่งการ

ดับทุกข์

วิมุตติ  คือ   ความพ้นจากบ่วงภพอันมี  เกิด   แก่   เจ็บ  ตาย

มิรู้จักจบจักสิ้น   พระนิพพาน

พ้น  คือ   หลุดไป   รอดไป   เลยไป  ผ่าน  จาก  สิ้น   หมด   เกิน

บ่วง  คือ  เครื่องรัดรึง  เชือกที่ทำเป็นห่วงสำหรับคล้อง หรือ ดักสัตว์

ภพ  คือ  โลก  แผ่นดิน

เกิด  คือ  มีขึ้น  เป็นขึ้น  คลอด  กำเนิด

แก่   คือ   จัด   เฒ่า   เก่า   นาน

เจ็บ   คือ   ป่วย  รู้สึกทางกายเมื่อถูกทุบตี   หรือ  เป็นแผล   เจ็บมี  5  ประเภท  ดังนี้

     1.  เจ็บไข้  คือ  ป่วยเป็นโรค

     2.  เจ็บใจ    คือ  แค้น   ช้ำใจ

     3.  เจ็บช้ำ  คือ  เจ็บด้วยชอกช้ำ  ชอกช้ำใจ  แค้นใจ

     4.  เจ็บปวด  คือ  ทั้งเจ็บทั้งปวด   แค้นใจมาก   เป็นทุกข์ใจมาก

     5.  เจ็บแสบ  คือ  ทั้งเจ็บทั้งแสบ  แค้นใจมากเดือดร้อนใจมาก

ตาย  คือ  สิ้นใจ   ไม่เป็นอยู่ต่อไป   ไม่ไหวติง

มิรู้จักจบจักสิ้น   คือ   ไม่มีที่สิ้นสุด

พระนิพพาน  คือ  ความดับกิเลส  และ กองทุกข์      การออกจากกิเลสและกองทุกข์

ดับ  คือ  มอด  สูญ  หาย   ระงับ   หมดไป  สิ้นไป  ทำให้หมดไป

กิเลส  คือ  อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจ และ ทำใจให้เศร้าหมอง

ทุกข์  คือ  ความเจ็บปวด  ความยาก  ความลำบาก

   1.  เวทนา  คือ  ความรู้สึกลำบาก  ความรู้สึกเจ็บปวด

   2. สมุทัย  คือ  เหตุให้เกิดทุกข์

   3. นิโรธ  คือ  ความดับทุกข์

ตัณหา  คือ  ความดิ้นรน  ความแส่หา

เสวย  คือ  ได้รับ  ได้ประสบ

เสวยสุข  คือ  ได้รับความสะดวก   ได้รับความสบาย

ประสบ  คือ  ได้   พบ

ประสพ   คือ   การเกิดผล   การคลอด   การได้   การพบ

การเสวยวิมุตติสุข   คือ   การที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีดับทุกข์ที่ -

ไม่รู้จักจบจักสิ้นให้หมดสิ้นไปจากชิวิตของพระองค์เอง  โดยการ  จากไป  จากบ่วง(เครื่องรัดรึง)

ทางโลกที่มีขึ้นมาตั้งนานอันเต็มไปด้วย  ความเจ็บปวด  ทุกข์ทรมาน ใจมาก   แค้นใจ

ร้อนใจ  อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น และ   จะไม่มีอยู่อีกต่อไป

พุทธ  คือ  ผู้รู้    ผู้ตรัสรู้   ผู้ตื่นแล้ว   ผู้บานแล้ว

   1.  ผู้รู้   คือ  ผู้เข้าใจ   ผู้ทราบ

   2.  ผู้ตรัสรู้   คือ  ผู้แจ้ง   ผู้เข้าใจกระจ่าง   ผู้ทราบอย่างชัดแจ้ง

   3.  ผู้ตื่นแล้ว  คือ  ผู้ไม่ประมาท  ผู้ไม่หลงงมงาย   ผู้ไม่หลง

   4.  ผู้บานแล้ว  คือ  ผู้คลี่ออก   ผู้แช่มชื่น

ญาณ  คือ  ความรู้   เครื่องรู้   ปัญญา   ปัญญาอันหยั่งรู้  ปรีชาหยั่งรู้   ปรีชากำหนดรู้

พุทธญาณ   คือ   ผู้รู้แจ้งในเรื่องราวต่าง ๆ  ได้ด้วย  ความรู้   ปัญญา  และ  ปรีชาหยั่งรู้

จากสิ่งต่าง ๆ  ที่อยู่รอบตัว  รวมทั้งจากประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้  รู้   เข้าใจ   ในชีวิต  ในการดำรง -

ชีวิตให้อยู่ ในความไม่ประมาท  ไม่หลงงมงาย  ไม่หลงมัวเมา   ไม่หลงเชื่อผู้อื่นง่ายๆโดยไม่ใช้

สติ หรือ  วิจารณญาณให้ดี   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ 2

บ่วงกรรม

ลูก คือ แก้วตาดวงใจ