อนาคามีผู้ไม่มาสู่กามธาตุอีก

 อนาคามี   ผู้ไม่มาสู่กามธาตุอีก    คือ   ผู้ที่ ไม่มาสู่ ความรัก

ความใคร่ไม่ทะยานอยากในอารมณ์รักใคร่  ในกามราคะ

ในรูป  รส   กลิ่น  เสียง  สัมผัส   ในโลกแห่งกาม

อนาคามีผล  คือ   ธรรมที่พระอนาคามีได้บรรลุ

นิโรธ  คือ  ความดับทุกข์    พระนิพพาน

สมุทัย  คือ  เหตุให้ทุกข์เกิด

นิโรธสมาบัติ  คือ  การเข้าสู่นิโรธ (  ความดับทุกข์  )  เข้าฌาณ- 

เป็นพิธีพักผ่อนของพระอรหันต์

อรหันต์  คือ  ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา  ผู้สำเร็จพระนิพพาน   พระพุทธเจ้า

มีคุณ   น่านับถือ   

ฌาณ  คือ  การเพ่งจนอารมณ์แน่วแน่   การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่

ญาณ  คือ  ความรู้  ปัญญา   มี  4  อย่าง  คือ

  1. ความรู้  คือ  ความเข้าใจ  หรือ  ทราบเนื้อเรื่อง  ที่ได้มาจากการฟัง   การมองเห็น  การศึกษา

หรือ  การสัมผัส

  2.  เครื่องรู้   คือ  สิ่งของที่ทำให้ทราบ  หรือ  เข้าใจ  เช่น  หนังสือ  วิทยุ   โทรทัศน์   และ  อื่น ๆ

  3.  ปัญญา  คือ  ความรอบรู้  ความรู้ทั่ว   ความฉลาด  อันเกิดแต่การเรียน และ ใช้ความคิด

ความรู้เท่าทันคน  มีไหวพริบ ปฏิภาณ ดี   เฉลียวฉลาด

  4.  ปรีชา  คือ  รอบรู้  เฉลียวฉลาด  

บารมี  คือ  คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา    คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่

สมาธิ  คือ  การตั้งจิตมั่น   การสำรวม  การเพ่งเล็งอยากแน่วแน่

สมณะ  คือ   ผู้สงบ

สมถะ  คือ  ความสงบอารมณ์     มักน้อย

สงบ  คือ   นิ่ง   เงียบ   หยุด   ปราศจากเครื่องรบกวน   หาย

ผู้สงบ   คือ   ผู้หยุด   ผู้เงียบ  ผู้นิ่ง

สัมปทา  คือ  ความสำเร็จ  ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี

นิรุทธ์  คือ  ดับแล้ว

มนสิกา  คือ  การทำในใจ  การกำหนดในใจ  การพิจารณา

สันโดษ  คือ  ความพอใจ  ความสบายใจ  ความยินดีในตัวและในสิ่งรอบข้าง ( มีความยินดีเฉพาะ

ในสิ่งที่มีอยู่ )

อาสวะ  คือ  ไม่อยากได้ในสิ่งของ  หรือ  ของ  ของผู้อื่น

นิพพาน  คือ  ความดับกิเลส  และ  กองทุกข์      การออกจากกิเลส และ กองทุกข์

นิพพาน มี 2 อย่าง  คือ

1.  ความดับกิเลสที่ยังมีเบญจขันธ์ เหลืออยู่

2.  ความดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์ เหลืออยู่

ดับ  คือ  มอด  สูญ   หาย   ระงับ   หมดไป    สิ้นไป    ทำให้หมดไป  

กิเลส  คือ   อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจ   และทำใจให้ เศร้าหมอง

ทุกข์  คือ   ความเจ็บปวด   ความยาก   ความลำบาก

   1.   ทุกข์นิโรธ   คือ  ความดับทุกข์   พระนิพพาน

   2.  ทุกขเวทนา  คือ  ความรู้สึกลำบาก   ความรู้สึกเจ็บปวด

   3.  ทุกขสมุทัย  คือ  เหตุให้ทุกข์เกิด

ตัณหา  คือ  ความดิ้นรน  ความแส่หา

เบญจขันธ์  คือ  5  กอง   มีดังนี้คือ

1.  รูป  คือ  ร่างกาย  ความงาม  ความสวย  ภาพที่เห็น

2.  เวทนา  คือ  ความรู้สึก  ความรู้สึกทุกข์สุข  ความเจ็บปวด  ทุกข์  ทรมาน

3.  สัญญา  คือ  ความรู้สึก   ความเข้าใจ   ความระลึกได้  ความจำได้

4.  สังขาร  คือ  ร่างกายและจิตใจ   อาการทุกอย่างของ  กาย  วาจา  ใจ  ชาติ  และ  ภพ

5.  วิญญาณ  คือ  ความรู้สึกทั่วไป   จิต  ใจ  

คามี  คือ   ไป  ถึง

คามิก  คือ  ผู้ไป   ผู้เดินทางไป

วัฏ  วัฏฏะ  คือ   รอบแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย   วงกลม   การหมุน    การเวียนไป   เป็นวง

วัฏสงสาร   คือ  การเวียนว่ายตายเกิดแห่งสรรพชีวิตตามวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต และ สรรพสิ่งต่าง ๆ

(  การท่องเที่ยวไปในโลกที่หมุนเวียนอยู่แห่งกาลเวลา  )

นิพพานคามี  คือ  ถึงนิพพาน

อนุคามี  คือ  ผู้ติดตาม  เพื่อน   ติดตาม  เกี่ยวเนื่อง

วิญญู   คือ   ผู้รู้แจ้ง   นักปราชญ์  ฉลาด

คลิกอ่านที่นี่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ 2

บ่วงกรรม

ลูก คือ แก้วตาดวงใจ