พระพุทธเจ้า

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงสั่งสอนปวงชน

ให้เป็น ผู้ดี   คือ  เป็นผู้มีความประพฤติดี เพื่อเป็น เนื้อนาบุญของสังคม

ตรัส   แปลว่า  พูด    แจ้ง

พูด   แปลว่า   กล่าว

แจ้ง  แปลว่า  บอก  กล่าว  รู้    กระจ่าง  สว่าง   ชัด

รู้  แปลว่า   ทราบ   เข้าใจ

ตรัสรู้   คือ  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงรับสั่งอย่างผู้เข้าใจ     ทรงรับสั่งอย่างผู้ทราบ

ทรงเข้าใจแจ้ง    ทรงทราบแจ้ง  คือ  ทรงเข้าใจชัด   ทรงทราบชัด  ในทางโลก(  ในความต้องการ

ของชีวิต   )  ว่า ทุกชีวิต  ต้องการเหมือนกันคือ  บ้าน( ที่อยู่อาศัย  )  เครื่องนุ่งห่ม  (  เสื้อผ้า  )

ยา (รักษาโรค  )  อาหาร  (  ที่ทำมาหากิน เพื่อเลี้ยงชืวิตตนและครอบครัว โดยชอบ )

ทรงรับสั่งถึงความเป็นธรรม แห่ง  อารยะชน  เพื่อความสงบสุขแห่งสังคม

ธรรม  คือ  ความเป็นธรรม  คุณความดี  ความยุติธรรม

บุญ  คือ  ความดี  ความสุข   กุศล

สัมมา  แปลว่า   ชอบ  ดี  ดียิ่ง

สัมพุทธ  แปลว่า  ผู้ตื่นเอง  ผู้รู้เอง

บุญญานุภาพ  แปลว่า  อำนาจแห่งบุญ

บุญญาภินิหาร  แปลว่า  ความปรารถนาอันแรงกล้าในความดี  บุญที่ให้สำเร็จได้ตามปรารถนา

สัตถา  แปลว่า  ครูผู้สอน   ผู้สอน

อมฤตรส  คือ  น้ำทิพย์  พระธรรม

อริยมรรค  คือ  ทางอันประเสริฐ   หนทางที่ดี   หนทางที่เลิศ

ดวงตาเห็นธรรม  คือ  มองเห็นทางแห่งอารยธรรม

ปัญญารู้ธรรม   คือ  มีความรู้อันเกิดจากการเรียน   การเรียนรู้ และคิด   ในหนทางแห่งความเป็นธรรม

บารมี  คือ  คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา  คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่

คุณความดีที่ควรบำเพ็ญ   10  คือ

1.)  ทาน  คือ  การให้   สิ่งที่ให้  ต้านไว้  กั้นไว้  ปะทะไว้

2.)  ศีล  คือ  ความประพฤติที่ดี   มีจรรยาดี

    องค์แห่งจรรยา  คือ  ข้อบัญญัติที่กำหนดทางปฏิบัติ   ทาง กายและ วาจา   มีดังนี้  คือ

    1.  ศีล  คือ  จริยา   หรือ  ความประพฤติที่ดีควร รักษาศีล 5  หรือ  ศีล  8   ด้วยการละเว้นจาก

         1.1  การฆ่า

         1.2  การลักทรัพย์  การทุจริต

         1.3  การปรพฤติผิดในกาม

         1.4  การพูดที่เป็นไปในทางที่   ปด   เท็จ  โกหก หลอกลวง  ส่อเสียด คำหยาบ  เพ้อเจ้อ

นินทา   ให้ร้าย

         1.5  การดื่มสุรา  ของมึนเมา   จนติดเป็นนิสัย  และ  เสพสิ่งเสพติด  และอบายมุข ทั้งหลาย

ทั้งปวง  

      2.  ศีลธรรม   คือ  มีความประพฤติที่ชอบ    ความประพฤติที่ดีที่ชอบ   ความประพฤติที่มีความ

เป็นธรรม

      3.  ศีลวัต   คือ  มีศีล  มีความประพฤติดี  

      4.  ศีลสมาทาน   คือ  การถือศีล   การถือเอา  รับเอา เป็นข้อปฏิบัติ

 3.)  เนกขัม  คือ  การออกจาก  กาม  (  ความใคร่   ความปรารถนา  ที่ไม่ถูกทำนอง  

คลองธรรม  )    คือ   บวช  (   ถือเพศอย่างพระ  หรือ  นัก พรต  )

          พระ  คือ  ผู้ถือบวช   ผู้ประเสริฐ  ผู้ที่เคารพนับถือ

          พรต   คือ  การสมาทาน  การจำศีล    มารยาท  การปฏิบัติเขตแห่งความประพฤติ

กฏ  กิจวัตร   ขนบธรรมเนียม ประเพณี 

           ถือ  คือ  นับถือ  นับ   เชื่อ  ประพฤติ  บูชา  รักษา  ยึด

           ถือบวช  คือ  ประพฤติอย่างผู้ประเสริฐ     รักษามารยาท  รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี

ที่ดีงาม

           ถือศีล  คือ  รักษาความประพฤติที่ดี    ประพฤติจรรยาดี  

           นักบวช   คือ  ผู้ถือศีล    ผู้มีจรรยาดี   ผู้มีความประพฤติดี  

4.)  ปัญญา  คือ  ความรอบรู้   ความรู้ทั่ว   ความฉลาดอันเกิดแต่ การเรียนและคิด

5.)  วิริยะ  คือ   ความเพียร   ความบากบั่น   ความกล้า

      เพียร  แปลว่า   ความหมั่น    ความบากบั่น   ความกล้าแข็ง    มุ่งทำไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย  หรือ

ไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก  เพื่อให้ประสบความสำเร็จ  

6.)  ขันติ  คือ  ความอดทนต่ออารมณ์อันเป็นเหตุให้เสียประโยชน์    

7.)  สัจจะ   คือ   ความจริง   ความแท้

     จริง   แปลว่า  แน่  แท้    ไม่กลับเป็นอย่างอื่น  

     แท้   แปลว่า  จริง  แน่

8.)  อธิษฐาน  (  อธิฏฐาน  )   คือ   ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง    ความตั้งจิตปรารถนา

9.) เมตตา  คือ   ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้มีความสุข

10.)  อุเบกขา  คือ  ความมีใจเป็นกลาง   ความปราศจากความลำเอียง   ความไม่ไยดีในสิ่งที่ไม่ดี  

พระพุทธปฏิมา   หรือ   พระพุทธปฏิมากร   คือ   รูปแทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ที่เรียกว่า

พระพุทธรูป  

พุทธกาล    คือ  สมัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   เวลาที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่

พุทธางกูร   พุทธังกูร  คือ  หน่อพระพุทธเจ้า  

พุทธันดร   คือ  เวลา ระหว่างพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง  กับ  อีกพระองค์หนึ่งบังเกิดขึ้น

หน่อ  แปลว่า   ลูก   เชื้อสาย   พืชที่งอกออกจากเง่าของต้นใหญ่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสวดมนต์และทำนองสรภัญญะ 2

บ่วงกรรม

ลูก คือ แก้วตาดวงใจ